ประเภทของเครื่องปั๊มลมมีแบบใดบ้างและมีวิธีเลือกซื้ออย่างไร

ปั๊มลมส่วนใหญ่แล้วมักจะอยู่ในอู่ซ่อมรถยนต์ ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ ซึ่งจะเป็นปั๊มลมประเภทลูกสูบที่มีการใช้ปริมาณลมที่น้อยและแรงดันลมไม่สูง และสำหรับปั๊มลมที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็นปั๊มลมประเภทโรตารีสกรูที่ให้ปริมาณลมที่มาก ซึ่งปั๊มลมจะมีหน้าที่ในการอัดลมให้มีแรงดันสูงตามที่ผู้ใช้งานต้องการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์และประยุกต์ได้หลายด้าน หากสังเกตให้ดีตามร้านเครื่องยนต์ต่าง ๆ จะมีปั๊มลมที่มีขนาดที่พอดีไม่ใหญ่มากจนเกินไปและยังสามารถใช้งานได้ในครัวเรือน ซึ่งเครื่องปั๊มลมจะมีประเภทใดบ้างและจะมีวิธีเลือกซื้อและวิธีใช้งานเป็นอย่างไรวันนี้เราจะพาท่านไปดูดังนี้

ประเภทของเครื่องปั๊มลมมีแบบใดบ้าง

  1. เครื่องอัดลม หรือ ปั๊มลมแบบลูกสูบ (Piston Air Compressor)

เป็นเครื่องอัดลมหรือปั๊มลมที่นิยมใช้กันมากที่สุด เนื่องจากความสามารถในการอัดลม คือสามารถสร้างความดันหรือแรงดันของลมอัด ได้ตั้งแต่ 1 บาร์ (Bar) จนถึงเป็น 1000 บาร์ (Bar) ทำให้ปั๊มลมแบบลูกสูบทำได้ตั้งแต่ความดันต่ำ ความดันปานกลาง ไปถึงความดันสูง มีแบบใช้สายพาน จะทำให้เสียงเงียบ หรือแบบมอเตอร์ในตัว ที่เรียกว่าลูกสูบโรตารี่ แบบนี้จะผลิตลมได้เร็วกว่าแบบใช้สายพาน

  1. เครื่องอัดลม หรือ ปั๊มลมแบบสกรู (Screw Air Compressor)

เป็นปั๊มลมที่นิยมใช้ในโรงงาน โรงพิมพ์มาก ปั๊มลมแบบนี้จะมีตัวสกรูโรเตอร์ในการผลิตลม ไม่มีลิ้นในการเปิดปิด ปั๊มลมชนิดนี้ต้องการระบบระบายความร้อนที่ดี มีทั้งระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ และระบบระบายความร้อนด้วยน้ำถ้าเป็นเครื่องขนาดใหญ่ ปั๊มลมสามารถจ่ายลมได้ถึง 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min) และสร้างแรงดันได้มากกว่า 10 บาร์ (Bar)

  1. เครื่องอัดลม หรือปั๊มลมแบบไดอะแฟรม (Diaphragm Air Compressor)

เป็นปั๊มลมที่ใช้ตัวไดอะแฟรม ทำงานเหมือนลูกสูบและส่งผลให้ลิ้นด้านดูดอากาศเข้าเละลิ้นด้านส่งอากาศออกทำงานโดยไม่ได้สัมผัสกับชิ้นส่วนที่เป็นโลหะ และลมอัดที่ได้จะไม่มีการผสมของน้ำมันหล่อลื่น จึงเป็นลมที่สะอาด แต่ไม่สามารถสร้างแรงดันได้สูง ข้อดีก็คือ ลมที่ได้จากปั๊มลมประเภทนี้มีความปลอดภัยสูงและมักใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมเคมี และนิยมใช้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำ เนื่องจากเสียงที่เงียบและลมสะอาดนั่นเอง

  1. เครื่องอัดลม หรือ ปั๊มลมแบบใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Air Compressor)

ปั๊มลมชนิดนี้ข้อดีคือเสียงเงียบ การหมุนจะราบเรียบมีความสม่ำเสมอ การอัดอากาศคงที่ ไม่มีลิ้นหรือวาล์วในการปิดเปิด มีพื้นที่ทำงานจำกัด จึงเกิดความร้อนได้ง่าย หากต้องการประสิทธิภาพที่ดีจะต้องผลิตปั๊มลมชนิดนี้ด้วยความประณีตสูง สามารถผลิตลมได้ตั้งแต่ 4-100 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min) และความดันทำได้ 1-10 บาร์ (Bar)

  1. ปั๊มลมแบบใบพัดหมุน (Roots Air Compressor)

ปั๊มลมแบบนี้จะมีใบพัดหมุน 2 ตัว เมื่อโรเตอร์สองตัวทำการหมุน อากาศจะถูกดูดจากฟากหนึ่งไปยังอีกฟากหนึ่ง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาตร ทำให้อากาศไม่ถูกบีบหรืออัดตัว อากาศจะถูกอัดตัวก็ต่อเมื่ออากาศได้ถูกส่งเข้าไปยังถังเก็บลม ปั๊มลมแบบนี้ต้นทุนการผลิตจะแพง ไม่มีลิ้น ไม่ต้องการหล่อลื่นมากขณะทำงาน แต่ต้องมีการระบายความร้อนที่ดี

  1. ปั๊มลมแบบกังหัน (Radial and Axial Flow Air Compressor)

ปั๊มลมแบบนี้ จะได้อัตราการจ่ายลมที่มาก ลักษณะเป็นใบพัดกังหันดูดอากาศมาจากอีกด้านหนึ่ง ด้วยความเร็วสูง และส่งออกไปอีกด้านหนึ่ง ลักษณะการออกแบบใบพัดจึงสำคัญมาก ในเรื่องของอัตราของการผลิตและจ่ายลม

เลือกซื้อเครื่องปั๊มลมต้องเลือกซื้ออย่างไร

  1. หัวเครื่องปั๊มลมควรถูกผลิตด้วยวัตถุดิบคุณภาพสูง คุณภาพดีและมีความหนา ความคงทนถาวรต่ออุณหภูมิและการใช้งานอย่างสาหัส
  2. มอเตอร์ไฟฟ้าศักยภาพสูง อาจจะทำงานได้ที่แรงบิดสูงและอดออมพลังงาน มีระบบการดูแลความชื้นและฝุ่น มีคงทนถาวรต่อการใช้งานกลางแจ้งและในสภาวะฝุ่นเยอะเป็นพิเศษ
  3. สวิทซ์ควบคุมความดันเพื่อช่วยการควบคุมความดันที่แม่นยำ เพื่อการใช้งานที่ยาวนาน
  4. เกจ์ชั่งความดันควรผลิตจากสเตนเลสเผื่อป้องกันสนิม น้ำมันและป้องกันแรงสั่นสะเทือน ช่วยให้การใช้งานอย่างทนทานมากยิ่งขึ้น และการช่วยในสภาวะที่มีมลพิษหรือการกัดเซาะ
  5. สวิทซ์แมคเนติค สิ่งของคุณลักษณะสูงใช้เพื่อปั๊มลมในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อความแข็งแรงและมั่นคงสำหรับการใช้งานมอเตอร์
  6. ระบบตัดอัตโนมัติเมื่อมอเตอร์ใช้กระแสสูงผิดปกติ เพื่อป้องกันความปลอดภัยแก่ตัวเครื่อง และตัวผู้ใช้งาน
  7. เคลือบสีกันสนิมทั้งด้านในและด้านนอก
  8. ดูแลบำบัดสะดวก ไม่ซับซ้อน ตัวเครื่องสร้างมาอย่างยอดเยี่ยม

เลือกซื้อเครื่องปั๊มลมอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน

  1. แรงดันลมสูง-ต่ำ คุณสามารถพิจารณาได้จากการใช้งานของคุณ ถ้าต้องพึ่งแรงดันลมบ่อยๆ ก็ควรเลือกเครื่องปั๊มลมที่มีแรงดังสูง จะได้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพ
  2. ต้องทราบถึงปริมาณลม ก่อนจะทำการเลือกซื้อ เราก็ต้องรู้ด้วยว่าเราต้องการใช้ลมในปริมาณเท่าใด เพื่อเป็นการง่ายในการเลือกซื้อถังบรรจุลม
  3. เครื่องทำลมแห้ง เป็นตัวช่วยที่ค่อนข้างสำคัญ เพราะน้ำจะเป็นตัวอันตรายต่อถังบรรจุลม ยิ่งปล่อยไปนาน ๆ อาจทำให้ถังบรรจุลมมีสนิมได้ นั้นจะทำให้ถังบรรจุลมเสียหายได้ง่าย ๆ
  4. ตัวกรองลม โดยตามปกติลมอัดมักจะมีความชื้นและละอองน้ำ อาจส่งผลกระทบภายหลังได้ ซึ่งตัวกรองลมจะช่วยปรับปรุงคุณภาพของลมได้ครับ
  5. เครื่องปั๊มลมต้องมีคุณภาพ ตัวเครื่องต้องมีความหนา มีความทนทานถาวร สามารถทนต่ออุณหภูมิและการใช้งานหนักได้ดี
  6. ตัวเครื่องสามารถดูแลและทำความสะอาดง่าย ไม่ซับซ้อนมากเกินไป
  7. ควรเลือกเครื่องปั๊มลม ที่เคลือบกันสนิมทั้งด้านในและด้านนอก
  8. สวิทซ์ควบคุมความดัน จะช่วยให้เราควบคุมความแม่นยำได้ เพื่อใช้งานได้นานมากยิ่งขึ้น
  9. มีระบบตัดอัตโนมัติ เมื่อมอเตอร์ใช้กระแสสูงกว่าปกติ เพื่อป้องกันความปลอดภัยกับตัวเครื่องปั๊มลมและผู้ใช้งาน