เครื่องมือซ่อมมอเตอร์ไซค์ ที่ควรมีการดูแลรักษามอเตอร์ไซต์

เครื่องมือซ่อมมอเตอร์ไซค์ หรือเครื่องมือรถจักรยานยนต์ที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ รถคุณต้องมีมอเตอร์ไซค์ เป็นหนึ่งในยานพาหนะที่หลายคนมีไว้ใช้งาน เพราะคล่องตัวในการเดินทาง มีประโยชน์หลายด้านและราคาไม่แพง ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเรียนรู้การบำรุงรักษา และซ่อมแซมเบื้องต้น ให้เป็นบ้างในระดับหนึ่ง ด้วยเครื่องมือประจำรถจักรยานยนต์ที่มีมาให้นั้นมีอุปกรณ์มากมาย

เครื่องมือประจำรถจักรยานยนต์ที่ติดมากับรถ และสิ่งที่ควรซื้อเพิ่ม

ก่อนที่อื่นผู้ขับขี่จักรยานยนต์จำเป็นต้องเข้าใจ 2 เรื่องเกี่ยวกับเครื่องมือเหล่านี้กันก่อน นั่นคือ

  1. เครื่องมือประจำรถจักรยานยนต์มีให้มาบางส่วน กับรถของเราตั้งแต่ตอนแรกที่ซื้ออยู่แล้ว โดยจะเป็นเหมือนของแถมกลาย ๆ เมื่อเราเปิดดูใต้ที่นั่งเบาะ หรือ U-Box บางครั้งก็จะเห็นว่าใส่ไว้เป็นชุดหรือเป็นถุงข้างใน  บางเจ้าอาจจะให้แยกมาเป็นกล่องใหญ่หน่อยก็มี หากคุณเป็นคนที่ไม่ได้ช่ำชอง หรือมีความรู้เรื่องงานซ่อมแล้ว เครื่องมือแค่นั้นก็เพียงพอกับการแก้ไขหรือดูแลเบื้องต้นแล้ว
  2. สำหรับบางคนที่มีความรู้เรื่องรถ อาจะรู้สึกว่าไม่เพียงพอ ขอแนะนำให้เลือกซื้อเพิ่ม โดยอาศัยดูจากทักษะการซ่อม และการใช้งานของผู้ขับขี่เป็นหลัก ทยอยซื้อเครื่องมือประจำรถจักรยานยนต์บางตัวเพิ่ม หรือ หาตัวที่มีขนาดใหญ่ขึ้น/เล็กลง และที่สำคัญยังต้องคำนึงถึงคุณภาพของเครื่องมือ และที่แน่ ๆ ราคาต้องคุ้มค่าด้วยเสมอ

เครื่องมือประจำรถจักรยานยนต์ทั้ง 5 ประเภทที่ขาดไม่ได้เด็ดขาด

  1. ประแจแหวน หรือประแจแหวนข้าง มีไหวเพื่อถอดชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถ ควรมีตั้งแต่เบอร์ 8 -17 ตามการใช้งาน หรืออาจจะมีประแจปากตายไว้ช่วยประคองเวลาถอดชิ้นส่วนร่วมด้วยก็ได้
  2. คีมล็อค ตัวบล็อคตัว T และคีมตัด คีมปากจิ้งจก ถือเป็นเครื่องมือประจำรถจักรยานยนต์สำหรับการใช้งานในจุดพิเศษบางที่ เช่น เอาไว้ถอดหัวเทียนรถได้ ควรใช้ยี่ห้อดี ๆ เพื่อความมั่นใจเรื่องคุณภาพ
  3. ไขควงดี ๆ สักอันที่อาจจะเป็นแบบสลับหัวได้ สำหรับการใช้งานไขในจุดที่มีหลายรูปแบบและหลายขนาด บางครั้งควรพกตัวต่อไขควงด้วย ที่จะเพิ่มความยาวขึ้นและเข้าถึงในจุดลึก ๆ หรือพื้นที่ ๆ มองไม่เห็นด้วย และต้องมีทั้ง 2 หัวคือ แฉกกับแบน
  4. เครื่องมือประจำรถจักรยานยนต์ประเภทอะไหล่ เช่น หัวเทียน หลอดไฟหน้า ไฟท้าย ยางในสำรองพร้อมเหล็กงัดยาง เป็นต้น
  5. เครื่องมือจิปาถะ เช่น ไฟฉาย เสื้อกันฝน เคเบิ้ลไท ถุงกันน้ำ ยางรัดของ และกระป๋องเติมลมหรือชุดปะยางชั่วคราว ทั้งหมดนี้มีโอกาสได้ช่วยอย่างคาดไม่ถึงแน่ ๆ

ถ่ายน้ำมันเครื่อง เปลี่ยนไส้กรอง

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและการเปลี่ยนไส้กรองจริง ๆ แล้วเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งการถ่ายน้ำมันเครื่องมอเตอร์ไซค์นั้นไม่ยากเหมือนรถยนต์ สิ่งที่เราต้องเตรียมมีดังต่อไปนี้

สิ่งที่ต้องมีในการถ่ายน้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่องที่เข้ากันได้กับมอเตอร์ไซค์ของคุณ สามารถตรวจสอบได้จากคู่มือรถ หรือสอบถามความเห็นจากผู้ใช้รถรุ่นเดียวกันตามกลุ่มสังคมออนไลน์ก็ได้ โดยปกติรอบการถ่ายน้ำมันเครื่องมอเตอร์ไซค์จะอยู่ที่ 4,000 กิโลเมตร ก็ควรเปลี่ยนได้แล้วไส้กรองน้ำมันเครื่องอันใหม่ ไม่แนะนำให้นำอันเก่าไปล้างแล้วใช้ต่อ ควรซื้อใหม่ไปเลย ตามร้านค้าออนไลน์ขายอยู่ที่อันละ 80 บาท เท่านั้นเอง เปลี่ยนใหม่ดีกว่า อย่าลืมดูรุ่นให้ถูกกับรถด้วย

  • ประแจบล็อก อุปกรณ์สำคัญที่ควรมีติดบ้านไว้ เพราะนอกจากใช้ซ่อมบำรุงรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์แล้วยังสามารถใช้ทำอย่างอื่นได้อีกมากมาย ร้านค้าออนไลน์ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 200 กว่าบาท ซื้อเป็นชุดมีหัวประแจหลาย ๆ เบอร์จะคุ้มกว่า
  • ถาดรองน้ำมันเครื่อง ถาดรองน้ำมันเครื่องนั้นไม่จำเป็นต้องซื้อก็ได้ แม้แต่ในอู่ซ่อมรถเองก็ยังนำแกลลอนเก่ามาเจาะช่องใช้ใหม่เลย แต่ถ้าอยากให้ดูดี เวลาถ่ายรูปโพสต์ลงโซเชียลโชว์เพื่อนแล้วดูเก๋ ๆ ก็สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าออนไลน์เช่นกัน
  • กรวยข้ออ่อนหรือกรวยพลาสติก เอาไว้รินน้ำมัน ป้องกันไม่ให้หกเลอะเทอะ ในส่วนของขั้นตอนการถ่ายน้ำมันเครื่องนั้น มอเตอร์ไซค์รุ่นเล็ก-รุ่นใหญ่อาจมีขั้นตอนที่แตกต่างกันไป โดยปกติจะมีอธิบายไว้ในคู่มือรถอยู่แล้ว สามารถตรวจสอบดูวิธีการได้เลย

ตรวจสอบสภาพและความปลอดภัยเบื้องต้น

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ไม่ต้องเสียเงินอะไรเลย และเป็นขั้นตอนที่ควรทำทุกครั้งก่อนขี่มอเตอร์ไซค์ด้วยซ้ำ แต่บางทีอาจจะถูกมองข้ามไปในบางเรื่อง ดังนั้น ลองมาทบทวนดูว่าก่อนขี่มอเตอร์ไซค์เราควรตรวจสอบเรื่องอะไรบ้าง

  • ตรวจสอบสภาพยางมอเตอร์ไซค์ – สังเกตดูหน้ายาง หรือเนื้อยาง ว่ายังอยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือไม่ เริ่มแตกลายงาหรือยัง ดอกยางสึกไปมากน้อยแค่ไหน
  • เช็คลมยาง – จริง ๆ แล้วสามารถกะด้วยสายตาหรือเอามือจับดูก็ได้ แต่ถ้าให้ดีควรมีเครื่องวัดลมยางติดไว้ด้วยสักหน่อยเพื่อจะได้รู้ระดับลมที่แน่นอน นอกจากนี้ควรตรวจสอบเรื่องรอยรั่วบนผิวยางด้วย
  • เช็คข้อต่อและตัวนอตต่าง ๆ – ใช้มือหรือประแจบล็อกไล่เช็คตามข้อต่อทุกจุด ตัวนอตต่าง ๆ ว่ามีส่วนไหนที่หลวมหรือไม่ ถ้ามีก็จัดการขันให้เรียบร้อย
  • ตรวจสอบระดับของเหลว – ของเหลวต่าง ๆ อย่างเช่น น้ำมันเบรก, คลัตช์, เกียร์ ดูให้ครบว่าพร่องไปมากน้อยแค่ไหน
  • สำรวจรอยรั่วของท่อไอเสีย – ขั้นตอนนี้ควรใส่ใจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นชิ้นส่วนที่โดนความร้อนตลอดเวลา ให้ใช้มือลูบคลำที่ตัวท่อไอเสียไล่ไปตั้งแต่เครื่องยนต์ถึงปลายท่อ ตรวจดูว่ามีรอยรั่วอะไรหรือไม่ 
  • ทดสอบระบบกันกระแทก – โช้คอัพและสปริงต่าง ๆ ทั้งล้อหน้าและล้อหลัง ให้ใช้มือจับดูว่ามีเศษฝุ่นทรายติดอยู่หรือไม่ ถ้ามีให้ทำความสะอาด จุดสังเกตคือ หากเราใช้มือจับดูถ้ามีคราบของน้ำมันหล่อลื่นติดอยู่แสดงว่าใช้ได้ แต่ถ้าแห้งให้ฉีดสเปรย์หล่อลื่นทันที
  • เช็คไฟหน้า ไฟท้ายและไฟเลี้ยว – ตรวจสอบความสว่างของไฟแต่ละดวงว่าสว่างดีหรือไม่ การกะพริบของไฟเลี้ยวต่าง ๆ และระดับของไฟหน้าว่าได้ระดับที่เหมาะสมหรือไม่

*** ขอบคุณข้อมูลจาก : https://capitallaboratory.com/